คิดค้นโดยคนไทย แบตเตอรี่กราฟีน ชาร์จไว จุไฟนาน

ต้องยอมรับว่า ในตอนนี้ รถยนต์ไฟฟ้า EVs ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการอย่างราคาแบตเตอรี่ที่แพง และการชาร์จเพื่อใช้งานในแต่ละครั้งที่ต้องใช้เวลานาน ทำให้หลายคนยังไม่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า แต่ล่าสุด สจล.ได้คิดค้นนวัตกรรม ‘แบตเตอรี่กราฟิน’ สำหรับ EVs ครั้งแรกในประเทศไทย ที่อาจจะเข้ามาพลิกโฉมวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในไทยในทิศทางที่ดีขึ้น

.

‘แบตเตอรี่กราฟีน’ ดังกล่าว มีจุดเด่น คือ การกักประจุไฟฟ้าที่มากขึ้น และมีอัตราการอัดประจุไฟฟ้าที่เร็วกว่าแบตเตอรี่แบบเดิม และที่สำคัญ ราคาถูก ทนทาน ปลอดภัยต่อการใช้งาน ไม่ระเบิด ไม่ติดไฟ

.

โดย กราฟีน ถือเป็นวัสดุที่นานาประเทศยอมรับว่า มีความสำคัญในการสร้างนวัตกรรมในอนาคต โดยจะเป็นชั้นอะตอมของคาร์บอนที่เรียงตัวต่อกันเป็นโครงหกเหลี่ยม ซึ่งบางที่สุดในโลก แข็งแกร่งกว่าเพชรและเหล็กกล้าถึง 200 เท่า และนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดีที่สุดในโลก

.

สำหรับ การผลิต ‘แบตเตอรี่กราฟีน’ จะใช้รีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ ร่วมกับคาร์บอนจากวัสดุการเกษตรธรรมชาติ เช่น ถ่านเปลือกทุเรียน ถ่านกัญชง ถ่านหินลิกไนต์ และคาร์บอนทั่วไป มาทำเป็นขั้วไฟฟ้า พร้อมทั้งยังพัฒนาวัสดุใหม่ อย่างวัสดุคอมโพสิตยางพาราผสมนาโนกราฟีนออกไซด์ เพื่อป้องกันการคายประจุจากไฟฟ้าสถิต ทั้งเป็นตัวดูดซับสารอิเล็กโทรไลต์ให้มีสภาพเปียกได้สูง มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูง ช่วยให้การเคลื่อนที่ของไอออนไหลผ่านได้ดีขึ้นจากรูพรุนที่เหมาะสม ส่งผลให้ยางพารามีประสิทธิภาพในการเป็นตัวแยกขั้วไฟฟ้าที่ดี ไม่มีความร้อนสะสมภายใน ทนต่อความร้อน และปฏิกิริยาเคมีจากกราฟีนออกไซด์

.

ที่ผ่านมาเป้าหมายการผลิต ‘กราฟีน’ ได้สำเร็จไปแล้วในเฟสที่ 1 ด้วยกำลังผลิตเดือนละ 15 กก. ลดการนำเข้าได้ กก.ละกว่า 10 ล้านบาท โดย สจล.เป็นแห่งเดียวในไทย ที่สามารถผลิต ‘กราฟีน’ ได้เอง

.

และล่าสุด สจล. ก็ได้คิดค้น ‘แบตเตอรี่กราฟีน’ ได้สำเร็จในเฟสที่ 2

.

สำหรับแนวทางการทดลอง ‘แบตเตอรี่กราฟีน’ ในรถยนต์ไฟฟ้า ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จะเริ่มทดลองในเฟสที่ 3-4 กับ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถตุ๊กๆ สามล้อ โดยคาดว่าจะเริ่มทดลองได้ในช่วงปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567 จากนั้นจะขยายการวิจัยไปที่การใช้งานกับ ‘รถยนต์ไฟฟ้า EVs’

.

โดยหากผลิต ‘แบตเตอรี่กราฟีน’ ได้สำเร็จ คนไทยเฮได้เลย! เพราะราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จะถูกลงกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมที่ใช้ในปัจจุบันได้ราว 50-60% จากราคาตลาดลิเธียมที่แพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

.

นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) จากการลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ในประเทศ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

.

อย่างไรก็ตาม ทาง รศ.ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการอธิการบดี สจล. กล่าวว่า วันที่ 27-29 เมยายนนี้ สจล. จะนำนวัตกรรม ‘แบตเตอรี่กราฟีน’ ไปจัดแสดงผลงานในงาน KMITL INNOVATION EXPO 2023 ภายในงานมีผลงานสิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทย จำนวน 1,111 ชิ้น ที่น่าสนใจ เช่น ผ้าไหมไทยย้อมกราฟีนแบบใส่ในเมืองร้อนและเมืองหนาว เม็ดพลาสติกกราฟีน และระบบตรวจจับ Plasma Bubble ในชั้นบรรยากาศ และอื่น ๆ อีกมากมาย

.

ขอบคุณข้อมูลจาก

-KomChadLuek

http://bit.ly/40tO2BX

-Bangkokbiznews

http://bit.ly/3U1qrGm

.

#BangkokIloveYou

#มาร่วมสร้างกรุงเทพกัน